วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเรื่อง ใยแก้ว

ใยแก้ว ( Fiberglass )

ใยแก้วหรือไฟบอร์กลาสเป็นวัสดุสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง เป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการขึ้นรูปงานไฟเบอร์กลาส โดยทั่วไปจะแบ่งประเภทใยแก้วออกเป็นชนิต่างๆตามคุณสมบัติ ดังนี้

1. ชนิด A glass ( Alkali ) ใช้สำหรับงานที่ต้องการทนสารเคมีที่เป็นด่าง

2. ชนิด C glass ( Chemical ) ใช้สำหรับงานที่ต้องการทนสารเคมีที่เป้นกรดและกัดกร่อน

3. ชนิด E glass ( Electrical ป ใช้สำหรับงานที่ต้องการรับแรงและเป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้าได้ดี

4. ชนิด S glass ( High Strength ) ใช้สำหรับงานที่ต้องการรับแรงสูงที่สูงกว่าชนิด E glass

ใยแก้วแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้

1. ใยแก้วชนิดผืนเส้นสั้น ( Chopped strands mat )

เป็นใยแก้วเส้นสั้นยาวประมาณ 1-2 นิ้ว โปรยลงบนผืนแบบ กระจาย เกาะตัวโดยประสานกาว(binder) มีสองแบบคือ

แบบEmution มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบแน่น เหมาะกับงาน ที่ต้องการ ความเรียบสมำเสมอ ไม่เคลื่อนตัว

แบบ Powder มีลักษณะเป็นแผ่นเส้นใยทอแบบหลวม เหมาะกับงานที่ต้องเข้าซอก มีมุมและซอกมาก

ขนาดเรียกตามน้ำหนักต่อ ตารางเมตร มีขนาด 100 200 300 450 600 และ900 กรัม/ตารางเมตร ใช้กับงานไฟบอร์กลาสทั่วไป

2. ใยแก้วตาสาน ( Woven roving )

เป็นใยแก้วเส้นสั้นทอเป็นผืน เป็นรูปตาสาน มีขนาด 400 600 800 900 1,000 และ 1,200 กรัม/ตารางเมตรช่วยรับแรง เสริมกำลังให้สูงขึ้น ในทิศทางของเส็นใยแก้ว(2 ทิศทาง)

3. ใยแก้วผ้าทอ ( Glass cloth )

เป็นใยแก้วเส้นเหมือนด้ายนำมาทอเป็นผืนผ้า เนื้อแน่น มีขนาด 30 60 90 100 160 200 และ 300 กรัม/ตารางเมตร ช่วยรับแรงกำลังได้ดี สามารถทำชิ้นงานได้บางเบา ใช้เสริมความแข็งแรงบริเวณขอบชิ้นงาน และบริเวณผิวบนและล่างสุดของงาน

4. ใยสานแบบเย็บติด ( Stitch mat )

เป็นใยแก้วแบบผืน chopped strand mat เย็บด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ทั้งผืน เวลานำไปใช้งานแล้วใยแก้วจะไม่เคลื่อนตัว ทำให้ได้ชิ้นงานที่รับแรงและกำลังได้สมบูณณ์ขึ้น มีขนาด 300 450 600 และ 900 กรัม/ตารางเมตร

5. ใยแก้วผิว ( Surfacing mat )

เป็นใยแก้วแบบผืนบางเหมือนกระดาษทิชชู มีขนาดน้ำหนัก 20 30 50 กรัม/ตารางเมตร ช่วยยึดเกาะผิวชั้นเจลโค๊ทให้แข็งแรงขึ้น และช่วยลดปริมาณฟองอากาศของชั้นเจลโค๊ทกับใยแก้วได้

6. เทปไฟเบอร์ ( Glass tape )

เป็นเส้นใยแก้วนำมาทอเป็นผืน มีขนาดกว้าง 2นิ้ว 3 นิ้ว 4 นิ้ว ไว้ใช้สำหรับเชื่อมรอยต่อระหว่างแผ่นใยแก้ว และเสริมกำลังบริเวณขอบของชิ้นงาน

7. ใยแก้วเส้นด้าย ( Roving )

เป็นเส้นใยแก้วยาวตลอดทั้งม้วน เรียกตามน้ำหนัก/ความยาว 1 กม. เช่น TEX1200 = ความยาว 1 กม. หนัก 1 กก. ที่นิยมใช้มีขนาด 1200 2200 2400 4800 เป็นต้น แบ่งตามลักษณะการใช้งานดังนี้

  • แบบพ่น ( spray up roving ) ใช้กับเครื่องพ่นใยแก้วนิยมใช้เบอร์ 2400
  • แบบพัน ( filament roving ) ใช้ในการพันท่อทำถังน้ำกับเครื่องพัน นิยมใช้เบอร์ 600 800 1100 2200 2400 4800
  • แบบดึง ( pultrution roving ) ใช้ในกระบวนการผลิตแบบดึงยาว นิยมใช้เบอร์ 2400 4800
  • แบบSMC ( sheet moulding compound ) ใช้ทำแผ่น SMC นิยมใช้เบอร์ 2400
  • แบบ PANEL ( corrugated sheet ) ใช้ทำหลังคาโปร่งแสง นิยมใช้เบอร์ 2400

8. ใยแก้วเส้นสั้น ( Chopped strand )

เป็นเส้นใยแก้วเส้นสั้น ขนาดความยาวเส้น 3 6 9 12 มิลลิเมตร ใช้เพิ่มความแข็งแรงของชิ้นงาน

9. ใยแก้วผง ( Glass powder )

เป็นผงใยแก้วสีขาว ใช้เพิ่มความแข็งแรง ป้องกันการขีดข่วนและแรงกระแทกบนผิวงาน

10. ใยแก้วแบบทิศทางเดียว ( Unidirection mat )

เป็นเส้นใยแก้วเรียงเป็นแถวในแนวเดียวกันตลอดทั้งผืน เย็บติดกันด้วยเส้นด้าย ( polyester yarn ) มีการเรียงเส้น 2 แบบ คือแบบแนวยาว และแบบแนวขวาง รับแรงและกำลังได้สูงในแนวยาวของเส้นใยแก้ว ทางใดทางหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น