วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเรื่อง โพลีเอสเตอร์เรซิ่น

โพลีเอสเตอร์เรซิ่น

เป็นพลาสติกเหลวชนิดหนึ่ง มีลักษณะค้นคล้ายน้ำมันเครื่อง กลิ่นฉุนแข็งตัวด้วยความร้อนสูง เป็นวัตถุไวไฟชนิดหนึ่ง มีอตราการหดตัว 2-8% หลังเซทตัวเต็มที่ เรซิ่นสามารถหล่อขึ้นรูปได้มากมายหลากหลายรูปแบบ เรซิ่นสำหรับหล่องานทั่วไป หล่อพระ หล่อของที่ระลึก หล่อตุ๊กตาฯลฯ เรซิ่นสำหรับหล่องานไฟเบอร์กลาส และเรซิ่นสำหรับงานเคลือบ เช่น งานเคลือบกรอบรูปวิทยาศาสตร์

ในขณะทำการหล่อ เรซิ่นจะปล่อยกลิ่นเคมีออกมาซึ่งมีกลิ่นเหม็นฉุน ดังนั้นสถานที่ทำงานควรเป็นที่โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรทำงานในสถานที่ที่เป็นห้องทึบตัน และไม่มีการไหลเวียนของอากาศหรือการระบายอากาศที่ดีพอ

เรซิ่นแยกตามเกรดของคุณสมบัติของเนื้อเรซิ่นคือ

1. เกรด ortho-phthalic type คือชนิดเกรดใช้งานได้ทั่วไป

2. เกรด isophthalic type คือชนิดที่ทนกรด-ด่างได้ดี

3. เกรด bisphenol type คือชนิดที่ทนกรด-ด่างสูง

4. เกรด chlorendics type ชนิดทนดรก-ด่าง สูง

5. เกรด vinyl ester คือชนิดที่ทนกรด-ด่างสูงมาก แข็งแรง มีคุณสมบัติที่เป็นรองแค่ epoxy resin

เรซิ่นแยกตามเนื้อเป็น 2 แบบ คือ

1. nonpromote คือเรซิ่นชนิดที่ยังไม่ผสมสารช่วยเร่งปฏิกิริยา ลักษณะของเนื้อเรซิ่นจะเป็นของเหลวค้นคล้ายน้ำมัน มีใสใสอมเหลือง จุดเด่นคือมีอายุการเก็บ 3 เดือน( สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอากาศร้อนชื้นควรใช้ให้หมดภายใน 1เดือน เพราะเมื่อเข้าสู่เดือนที่2และ3 เรซิ่นจะเริ่มมีความหนดข้นขึ้นเรื่อยๆ) และยังสามารถประยุกต์สูตรได้อีกมากมาย เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบงานต่างๆ

โพลีเอสเทอร์เรซิ่น ชนิด non promote

2. promote คือเรซิ่นชนิดที่ผสมสารช่วยเร่งฯ มาแล้ว ลักษณะของเนื้อเรซิ่นจะเป็นของเหลวค้นคล้ายน้ำมันเครื่อง แต่มีสีชมพูบานเย็นเพราะเป็นเรซิ่นที่ได้ผสมสารช่วยเร่งปฏิกิริยาแล้ว เมื่อนำมาใช้งานก็แค่เติมสารเร่งฯลงไป ในเรื่องของสีเรซิ่นนั้นบางบริษัทผู้ผลิดอาจมีการใช้สารช่วยเร่งที่แตกต่าง ดังนั้นเรซิ่นชนิดผสมสารช่วยเร่งบางตัวจะมีสีอล้ำคล้ายน้ำเฉาก๊วย และสำหรับชนิดที่ใช้กับงานหล่อใสแล้วเรซิ่นจะมีสี ใสอมน้ำเงินอ่อนๆ จุดเด่นคือใช้งานง่ายและคล่อง ไม่ยุ่งยาก แต่ข้อเสียคือมีอายุการเก็บสั้น อายุการเก็บไม่เกิน 2 เดือน ในการใช้งานจริงควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน

แบบงานหลอ่ทั่วไป แบบงานหล่อใส

คุณสมบัติของโพลีเอสเทอร์เรซิ่น

เรซิ่นเป็นพลาสติกหล่อที่มีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพ ทางไฟฟ้า และทางเคมี

คุณสมบัติทางกายภาพ มีคุณสมบัติให้เนื้อแข็ง ใส เงา ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก ( termoplastic ) แต่น้อยกว่าโลหะ เมื่อเสริมแรงด้วยใยแก้ว จะได้ความแข็งแรงที่เพิ่มมากขึ้น มีความเบา แข็งแรงเหนียว ไม่เปราะ

คุณสมบัติทางไฟฟ้า เรซิ่นมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ครบถ้วน สามารถนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า ( insulator ) ได้

ลักษณะการใช้งานของโพลีเอสเตอร์เรซิ่น

เรซิ่นนำไปใช้งานได้มากมายหลายกลุ่มงาน แต่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆที่นิยมใช้ในบ้านเรา ได้แก่

1. กลุ่มงานหล่อ ( casting ) เช่นหล่อพระ หล่อของชำร่วย หล่อตุกตา หล่อกระดุม หล่อแก้วเทียม ฯลฯ

2. กลุ่มงานเคลือบ ( laminate ) เช่นงานเคลือบกรอบรูปวิทยาศาสตร์

3. กลุ่มงานขึ้นรูปแบบ ( molding ) เช่นการผลิตงานไฟเบอร์กลาส หรือ FRP ( fiberglass reinforce plastic ) พลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว

การแข็งตัวของเรซิ่น

โพลีเอสเทอร์เรซิ่นสามารถแข็งตัวได้หลายวิธีดังนี้

1. โดยใช้ตัว catalyst หรือตัวทำให้แข็ง + ความร้อน

2. โดยใช้ตัว catalyst หรือตัวทำให้แข็ง + ตัวช่วยเร่งปฏิกิริยา promote/accelerator ที่อุณหภูมิห้อง

3. โดยใช้แสงอุลตร้าไวโอเลต

4. โดยใช้อิเลคตรอน

5. โดยให้แสงแดด

6. โดยใช้ความร้อน

โดยทั่วไปการแข็งตัวของเรซิ่นแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่1. gel time คือช่วงหลังจากเติมตัว catalyst แล้วจนเรซิ่นจับตัวเป็นวุ้น ช่วงที่2. cure time คือช่วงที่เรซิ่นแข็งตัวเต็มที่และเป็นช่วงที่เรซิ่นเย็นตัวลงหลังจากที่มี ความร้อนสูงในขณะทำปฏิกิริยา

องค์ประกอบที่มีผลต่อการแข็งตัวของเรซิ่น

1. อุณหภูมิ อุณหภูมิสูงเรซิ่นแข็งตัวเร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ

2. ปริมาณตัวเร่งฯ และ ตัวช่วยเร่งฯ ปริมาณที่มากแข็งตัวเร็วกว่าปริมาณที่น้อย

3. ความชื้นหรือน้ำ ความชื้นสูงการแข็งตัวของเรซิ่นจะช้าลง ผิวงานขึ้นฝ้ามัว โดยปกติปริมาณน้ำที่อยู่ในเรซิ่นจะต้องมีค่าไม่เกิน 0.05%

4. ปริมาณออกซิเจน ออกซิเจนเป็นตัวป้องกันการแข็งตัวของเรซิ่น ถ้าปริมาณออกซิเจนสูง เช่นการกวนเรซิ่นมากๆ นานๆ การแข็งตัวของเรซิ่นจะช้าลง และออกซิเจนมีประโย๙น์มากในเรื่องการยืดอายุการเก็บของเรซิ่น หากเริ่มเก็บเรซิ่นไว้นานขึ้น ควรสร้างออกซิเจนให้เกิดในถังหรือปีบดว้ยการกลิ้งถังไปมา เพื่อให้เรซิ่นข้างในเกิดการเคลื่อนไหว จะเกิดออกซิเจน และจะทำให้เรซิ่นมีอายูการเก็บเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น